OSI Model ได้แบ่ง ตามลักษณะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ | ||||||||||||||
- Application-oriented Layers เป็น 4 Layer ด้านบนคือ
Layer
ที่ 7,6,5,4
ทำหน้าที่เชื่อมต่อรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมประยุกต์
เพื่อให้รับส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ที่อยู่ชั้นล่างได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับซอฟแวร์เป็นหลัก
|
||||||||||||||
- Network-dependent Layers เป็น 3 Layers ด้านล่าง
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลผ่านสายส่ง
และควบคุมการรับส่งข้อมูล.ตรวจสอบข้อผิดพลาด
รวมทั้งเลื่อนเส้นทางที่ใช้ในการรับส่ง
ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์เป็นหลัก
ทำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างบริษัทกันได้อย่างไม่มีปัญหา
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||
3
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||
เมื่อ
computer
A ต้องการส่งข้อมูลไปยัง computer B
จะมีกระบวนการทำงานต่างๆ
ตามลำดับดังนี้
|
||||||||||||||
ข้อมูลจาก
Layer
7,6,5 จะถูกนำมาหั่นเป็นท่อนๆ
แล้วใส่ข้อมูลบางอย่างตอ่เพิ่มเข้าไปในส่วนหัว
เรียกว่า Header
เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลที่จำเป็นเช่น
|
||||||||||||||
หมายเลข
port ต้นทางและหมายเลข port ปลายทาง
กลายมาเป็นก้อนข้อมูล (Segment)
ใน Layer4 ซึ่งเรียกว่า TCP Segment
|
||||||||||||||
จากนั้น
ข้อมูล Layer4
จะถูกส่งผ่านลงไปยัง Layer3 และจะถูกใส่ Header
อีกซึ่งเป็นการเพิ่ม
header เป็นชั้นๆ เรียกว่า การ Encapsulate
ซึ่งในส่วนนี้จะ
|
||||||||||||||
เหมือนกับการเอาเอกสารใส่ซองจดหมายแล้วจ่าหน้าซองระบุผู้
ส่งและผู้รับ
คือเป็นการบันทึกหมายเลข ip address
ของโฮสต์ต้นทางและโฮสต์ปลายทางไว้ด้วย
เมื่อการ encapsulate
เสร็จสิ้นจะได้ก้อนข้อมูลที่เรียกว่า packetจากนั้น
packet ของข้อมูลจะถูกส่งผ่านไปยังระดับล่างอีก
คือส่งไปให้
Layer2 ในชั้นนี้ข้อมูลจะถูกใส่ header
เพิ่มเข้าไปที่ส่วนหัวเพื่อเก็บ
MAC Address ของต้นทางและปลายทาง
และยังมีการใส่ข้อมูล่ต่อเพิ่มเข้าไปในส่วนหางด้วย
ข้อมูลที่ต่อเพิ่มไปในส่วนหางนี้เรียกว่า Trailer
จึงรวมกันกลายเป็นก้อนข้อมูลของ
Layer2 ที่เรียกว่า Frame จากนั้น Frame
ข้อมูลจะถูกแปลงให้กลายเป็น
bit ของข้อมูลเพื่อส่งไปตามสื่อเข่นสาย UTP, Fiber
ต่อไป การส่งสัญญาณทางไฟฟ้าไปตามสื่อต่างๆนี้
เป็นการทำงานในระดับ Layer1 เรียกว่า Physical Layer
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||
4
|
||||||||||||||
หน้าที่ ของแต่ละ Layer | ||||||||||||||
Layer7,
Application
Layer เป็นชั้นที่อยู่บนสุดของขบวนการรับส่งข้อมูล
ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้
โดยจะรับคำสั่งต่างๆจากผู้ใช้ส่งให้คอมพิวเตอร์แปลความ
|
||||||||||||||
หมาย
และทำงานตามคำสั่งที่ได้รับในระดับโปรแกรมประยุกต์
เช่นแปลความหมายของการกดปุ่มเมาส์ให้เป็นคำสั่งในการก็อปปี้ไฟล์
หรือดึงข้อมูลมาแสดงผลบนหน้าจอเป็น Browser, HTTP,FTP,
Telnet,
WWW, SMTP, SNMP,NFS เป็นต้น
|
||||||||||||||
Layer6, Presentation Layer เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ตกลงกับคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่งในชั้นเดียวกันว่า การรับส่งข้อมูลในระดับโปรแกรมประยุกต์จะมีขั้นตอนและ | ||||||||||||||
ข้อบังคับอย่างไร
จุดประสงค์หลักของ Layer นี้คือ
กำหนดรูปแบบของการสื่อสาร อย่างเช่น
ASCII Text, EBCDIC, Binary และ JPEG
รวมถึงการเข้ารหัส (Encription)ก็รวมอยู่ใน
Layer นี้ด้วย ตัวอย่างเช่น โปรแกรม FTP
ต้องการรับส่งโอนย้ายไฟล์กับเครื่อง
server ปลายทาง โปรโตคอล FTP
จะอนุญาตให้ผู้ใช้ระบุรูปแบบของข้อมูลที่โอนย้ายกันได้ว่าเป็นแบบ
ASCII text หรือแบบ binary JPEG, ASCII, Binary,
EBCDICTIFF,
GIF, MPEG, Encription เป็นต้น
|
||||||||||||||
Layer5, Session Layer เป็น Layer ที่ควบคุมการสื่อสารจากต้นทางไปยังปลายทางแบบ End to End และคอยควบคุมช่องทางการสื่อสารในกรณีที่มีหลายๆ | ||||||||||||||
โปรเซสต้องการรับส่งข้อมูลพร้อมๆกันบนเครื่องเดียวกัน
(ทำงานคล้ายๆเป็นหน้าต่างคอยสลับเปิดให้ข้อมูลเข้าออกตามหมายเลขช่อง(port)
ที่กำหนด)
และยังให้อินเตอร์เฟซสำหรับ Application Layer
ด้านบนในการควบคุมขั้นตอนการทำงานของ
protocol ในระดับ transport/network เช่น socket ของ
unix หรือ
windows socket ใน windows ซึ่งได้ให้ Application
Programming
Interface (API)
แก่ผู้พัฒนาซอฟแวร์ในระดับบนสำหรับการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของ
protocol TCP/IP ในระดับล่าง และทำหน้าที่ควบคุม
"จังหวะ"
ในการรับส่งข้อมูล ของทั้ง 2ด้านให้มีความสอดคล้องกัน
(syncronization)
และกำหนดวิธีที่ใช้รับส่งข้อมูล
เช่นอาจจะเป็นในลักษณะสลับกันส่ง
(Half Duplex) หรือรับส่งไปพร้อมกันทั้ง2ด้าน (Full
Duplex)
ข้อมูลที่รับส่งกันใน Layer5 นี้จะอยู่ในรูปของ dialog
หรือประโยคข้อมูลที่สนทนาโต้ตอบกันระหว่างต้านรับและด้านที่ส่งข้อมูล
ไม่ได้มองเป็นคำสั่งอย่างใน Layer6
เช่นเมื่อผู้รับได้รับข้อมูลส่วนแรกจากผู้ส่ง
ก็จะตอบกลับไปให้ผู้ส่งรู้ว่าได้รับข้อมูลส่วนแรกเรียบร้อยแล้ว
และพร้อมที่จะรับข้อมูลส่วนต่อไป
คล้ายกับเป็นการสนทนาตอบโต้กันระหว่างผู้รับกับผู้ส่งนั่นเอง
ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้คือ RPC, SQL, Netbios,
Windows
socket, NFS เป็นต้น
|
||||||||||||||
Layer4, Transport Layer เป็น Layer ที่มีหน้าที่หลักในการแบ่งข้อมูลใน Layer บนให้พอเหมาะกับการจัดส่งไปใน Layer ล่าง ซึ่งการแบ่งข้อมูลนี้เรียกว่า | ||||||||||||||
Segmentation,
ทำหน้าที่ประกอบรวมข้อมูลต่างๆที่ได้รับมาจาก Layer
ล่าง
และให้บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นระหว่างการส่ง
(error
recovery)
ทำหน้าที่ยืนยันว่าข้อมูลได้ถูกส่งไปถึงยังเครื่องปลายทางและได้รับข้อมูล
ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว
หน่วยของข้อมูลที่ถูกแบ่งแล้วนี้เรียกว่า Segment
ตัวอย่างของ
protocol ในชั้นนี้คือ TCP,UDP,SPX
|
||||||||||||||
Layer3, Network Layer เป็น Layer ที่มีหน้าที่หลักในการส่ง packet จากเครื่องต้นทางให้ไปถึงปลายทางด้วยความพยายามที่ดีที่สุด (best effort delivery) | ||||||||||||||
layer
นี้จะกำหนดให้มีการตั้ง logical address
ขึ้นมาเพื่อใช้ระบุตัวตน
ตัวอย่างของ protocol นี้เช่น IP และ logical address
ที่ใช้คือหมายเลข
IP นั่นเอง layer
นี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ซึ่งที่ทำงานอยู่บน
Layer นี้คือ router นั่นเอง protocol ที่ทำงานใน
layer นี้จะไม่ทราบว่าpacketจริงๆแล้วไปถึงเครื่องปลายทางหรือไม่
หน้าที่ยืนยันว่าข้อมูลได้ไปถึงปลายทางจริงๆแล้วคือหน้าที่ของ
Transport Layer นั่นเอง หน่วยของ layer นี้คือ packet
ตัวอย่างของ
protocol ในชั้นนี้คือ IP, IPX, Apple talk
|
||||||||||||||
Layer2, Data Link Layer รับผิดชอบในการส่งข้อมูลบน network แต่ละประเภทเช่น Ethernet, Token ring, FDDI, หรือบน WAN ต่างๆ ดูแลเรื่องการห่อหุ้ม | ||||||||||||||
ข้อมูลจาก
layer บนเช่น packet IP ไว้ภายใน Frame
และส่งจากต้นทางไปยังอุปกรณ์ตัวถัดไป
layer นี้จะเข้าใจถึงกลไกและอัลกอริทึ่มรวมทั้ง format
จอง frame
ที่ต้องใช้ใน network ประเภทต่างๆเป็นอย่างดี
ในnetworkแบบEthernet
layer นี้จะมีการระบุหมายเลข address
ของเครื่อง/อุปกรณ์ต้นทางกับเครื่อง/อุปกรณ์ปลาทางด้วย
hardware address ที่เรียกว่า MAC Address เป็น
address ที่ฝังมากับอุปกรณ์นั้นเลยไม่สามารถเปลี่ยนเองได้
MAC Address เป็นตัวเลขขนาด 6 byte, 3 byte
แรกจะได้รับการจัดสรรโดยองค์กรกลาง
IEEE ให้กับผู้ผลิตแต่ละราย ส่วนตัวเลข 3 byte
หลังทางผู้ผลิตจะเป็นผู้กำหนดเอง
หน่วยของ layer นี้คือ Frame ตัวอย่างของ protocol
ในชั้นนี้คือ
Ethernet, Token Ring, IEEE 802.3/202.2,Frame Relay,
FDDI,
HDLC, ATM เป็นต้น
|
||||||||||||||
Layer1, Physical Layer เป็นการกล่าวถึงข้อกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติทางกายภาพของฮาร์ดแวร์ที่ใช้เชื่อม ต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้ง2ระบบ สัญญาณทาง | ||||||||||||||
ไฟฟ้าและการเชื่อมต่อต่างๆของสายเคเบิล,Connectorต่างๆ
เช่นสายที่ใช้รับส่งข้อมูลเป็นแบบไหน
ข้อต่อหรือปลั๊กที่ใช้มีมาตรฐานอย่างไร
ใช้ไฟกี่โวลต์ ความเร็วในการรับส่งเป็นเท่าไร
สัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลมีมาตรฐานอย่างไร
Layer1 นี้จะมองเห็นข้อมูลเป็นการรับ-ส่งที่ละ bit
เรียงต่อกันไปโดยไม่มีการพิจารณาเรื่องความหมายของข้อมูลเลย
การรับส่งจะเป็นในรูป 0 หรือ 1
หากการรับส่งข้อมูลมีปัญหาเนื่องจากฮาร์ดแวร์
เช่นสายขาดก็จะเป็นหน้าที่ของ Layer1
นี้ที่จะตรวจสอบและแจ้งข้อผิดพลาดนั้นให้ชั้นอื่นๆที่อยู่เหนือขึ้นไปทราบ
หน่วยของ layer นี้คือ bits ตัวอย่างของ protocol
ในชั้นนี้คือ
CAT5, CAT6, RJ-45, EIA/TIA-232, V.35cable เป็นต้น
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||
5
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||
ICMP เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการตรวจสอบและรายงานสถานภาพของดาต้าแกรม (Datagram) ในกรณีที่เกิดปัญหากับดาต้าแกรม เช่น เราเตอร์ไม่สามารถส่ง | ||||||||||||||
ดาต้าแกรมไปถึงปลายทางได้
ICMP จะถูกส่งออกไปยังโฮสต้นทางเพื่อรายงานข้อผิดพลาด
ที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ดี ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่า ICMP Message
ที่ส่งไปจะถึงผู้รับจริงหรือไม่
หากมีการส่งดาต้าแกรมออกไปแล้วไม่มี ICMP Message ฟ้อง
Error
กลับมา ก็แปลความหมายได้สองกรณีคือ
ข้อมูลถูกส่งไปถึงปลายทางอย่างเรียบร้อย
หรืออาจจะมีปัญหา ในการสื่อสารทั้งการส่งดาต้าแกรม และ
ICMP
Message ที่ส่งกลับมาก็มีปัญหาระว่างทางก็ได้ ICMP
จึงเป็นโปรโตคอลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ
(unreliable) ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของ
โปรโตคอลในระดับสูงกว่า Network
Layer ในการจัดการให้การสื่อสารนั้นๆ
มีความน่าเชื่อถือ ในส่วนของ
ICMP Message จะประกอบด้วย Type ขนาด 8 บิต Checksum
ขนาด 16
บิต และส่วนของ Content ซึ่งจะมีขนาดแตกต่างกันไปตาม
Type และ
Code ดังรูป
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||
1. แบ่งเป็นโพรโตคอล 2 ชนิดตามลักษณะ
ลักษณะแรกเรียกว่า Transmission
Control Protocol (TCP)
เป็นแบบที่มีการกำหนดช่วงการสื่อสารตลอดระยะเวลาการสื่อสาร
(connection-oriented)
ซึ่งจะยอมให้มีการส่งข้อมูลเป็นแบบ Byte
stream ที่ไว้ใจได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด
ข้อมูลที่มีปริมาณมากจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็กๆ
เรียกว่า message
ซึ่งจะถูกส่งไปยังผู้รับผ่านทางชั้นสื่อสารของอินเทอร์เน็ต
ทางฝ่ายผู้รับจะนำ message
มาเรียงต่อกันตามลำดับเป็นข้อมูลตัวเดิม
TCP
ยังมีความสามารถในการควบคุมการไหลของข้อมูลเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ส่ง
ส่งข้อมูลเร็วเกินกว่าที่ผู้รับจะทำงานได้ทันอีกด้วย
2. โปรโตคอลการนำส่งข้อมูลแบบที่สองเรียกว่า UDP (User Datagram Protocol) เป็นการติดต่อแบบไม่ต่อเนื่อง (connectionless) มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแต่จะไม่มีการแจ้งกลับไปยังผู้ส่ง จึงถือได้ว่าไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้มีข้อดีในด้านความรวดเร็วในการส่งข้อมูล จึงนิยมใช้ในระบบผู้ให้และผู้ใช้บริการ (client/server system) ซึ่งมีการสื่อสารแบบ ถาม/ตอบ (request/reply) นอกจากนั้นยังใช้ในการส่งข้อมูลประเภทภาพเคลื่อนไหวหรือการส่งเสียง (voice) ทางอินเทอร์เน็ต |
||||||||||||||
a. UDP:(User Datagram Protocol) | ||||||||||||||
|
||||||||||||||
3. กลไกการตรวจสอบโดย checksum ของ UDP
นั้นเพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลที่อาจจะถูกแก้ไข
หรือมีความผิดพลาดระหว่างการส่ง
และหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
ปลายทางจะได้รู้ว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
แต่มันจะเป็นการตรวจสอบเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น
โดยในข้อกำหนดของ UDP หากพบว่า Checksum Error
ก็ให้ผู้รับปลายทางทำการทิ้งข้อมูลนั้น
แต่จะไม่มีการแจ้งกลับไปยังผู้ส่งแต่อย่างใด
การรับส่งข้อมูลแต่ละครั้งหากเกิดข้อผิดพลาดในระดับ
IP เช่น ส่งไม่ถึง, หมดเวลา ผู้ส่งจะได้รับ Error
Message จากระดับ
IP เป็น ICMP Error Message
แต่เมื่อข้อมูลส่งถึงปลายทางถูกต้อง
แต่เกิดข้อผิดพลาดในส่วนของ UDP เอง จะไม่มีการยืนยัน
หรือแจ้งให้ผู้ส่งทราบแต่อย่างใด
|
OSI MODEL
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น